การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
(ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์)
ขั้นตอนการค้นหาและเลือกสรรโครงการที่ต้องการพัฒนา
1.
ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา
จากการที่ได้สำรวจปัญหาแต่ละแผนกและปัญหาระหว่างแผนกสามารถเลือกระบบที่ต้องการพัฒนาได้ดังนี้
1. ระบบธุรการ-การเงิน
2.
ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
3. ระบบคลังอาหาร
ทางบริษัทได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบของบริษัททั้งสิ้น
550,000 บาท
ตารางที่ 1
การกำหนดชื่อโครงการ
2.
จำแนกและจัดกลุ่มระบบ
ระบบทั้ง 3 ระบบที่ค้นหามาได้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ระบบธุรการ-การเงิน
เพื่อจัดทำระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพใช้งานง่ายและสะดวกต่อการทำงาน
2. ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
เพื่อให้การจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์แก่ลูกค้าไม่มีข้อผิดพลาดและเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
3. ระบบคลังอาหาร
เพื่อให้สามารถรู้จำนวนอายุของอาหารและจำนวนอาหารในคลังอย่างชัดเจนและถูกต้อง
จากตาราง
พบว่าแต่ละระบบสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ทั้งหมด
แต่เนื่องด้วยทางบริษัทมีงบประมาณในการพัฒนาระบบจำกัด จึงต้องนำระบบทั้ง 3
มาพิจารณาใหม่อีกครั้งซึ่งจะต้องดูรายละเอียดของขนาดระบบ งบประมาณและผลประโยชน์
สามารถแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเมตริกซ์
Information System
–to-Objectives
ตารางที่ 3
เมตริกซ์ Information System
–to-Objectives
จากการพิจารณาโครงการทั้ง
3 โครงการ
ตามวัตถุประสงค์
ขนาดของโครงการที่ต้องการพัฒนาและผลประโยชน์จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุด คือ
ระบบธุรการ-การเงินและระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนของบริษัท
ทางบริษัทจึงเห็นควรเลือกพัฒนาโครงการระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางที่ทางบริษัทสามารถให้เงินลงทุนได้และปฎิเสธโครงการพัฒนาระบบธุรการ-การเงิน เนื่องจากใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงกว่า
การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์มาใช้งาน
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบเดิมและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือ มีการจ่ายตั๋วภาพยนตร์ให้ลูกค้าผิดพลาด
การคิดเงินตั๋วภาพยนตร์คาดเคลื่อน ทำให้ลูกค้าไม่พอใจยอดขายลดลง เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ลง
ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ ดังนี้
1. ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2. จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
3. ใช้ทีมงานเดิมเพื่อพัฒนาและติดตั้งระบบ
รูปที่ 1 ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
ทางเลือกที่ 1
จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
ตารางที่ 4
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน
89-70 เปอร์เซ็นต์
เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน
69-50 เปอร์เซ็นต์
เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน
49-30 เปอร์เซ็นต์
เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน
ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกใช้ซอฟต์แวร์
บริษัทซีเนียร์ซอฟท์ดีเวล ลอปเม้นท์ จำกัด มาพิจารณา
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่
2
ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อมาพัฒนาระบบ
ตารางที่ 5 แนวทางเลือกที่ 2 ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อมาพัฒนาระบบ
การประเมินแนวทางเลือกที่
2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน
ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
ตารางการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่
2
ทางทีมงานได้สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกจ้างบริษัท บริษัทฟีนิกซ์ซอฟแวร์จำกัด มาพิจารณา
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่ 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
ตารางที่ 6 แนวทางเลือกที่ 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
การประเมินแนวทางเลือกที่ 3
ไม่มีการประเมินเพราะไม่มีการเปรียบเทียบ
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่
3
ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่ามีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติ
ทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น
3 เดือนและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 300,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา
ค่าเบ็ดเตล็ดและค่าสำรองฉุกเฉินเป็นต้น)
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง 3
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง 3
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว
ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท
พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง
คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ขั้นตอนที่
2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและสร้างความวางไว้วางใจต่อลูกค้า
วัตถุประสงค์
เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
และความทันสมัยของระบบเพื่อทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบถูกต้องของการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์และรวดเร็วเพื่อตรงตามความต้องการของลูกค้า
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ได้มีการจัดขึ้นโดยทีมงานของบริษัท ซึ่งมีการกำหนดขอบเขตของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ต่อไปนี้
1.
ระบบจะต้องใช้งานได้ง่าย เหมาะสมกับพนักงาน
2. ระบบจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ถูกต้องแม่นยำ
3. มีความผิดพลาดในการทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
5. ระบบสามารถตรวจสอบการซื้อขายสินค้าได้
ปัญหาของระบบเดิม
1.
พนักงานคิดราคาตั๋วภาพยนตร์ผิดพลาด
2.
ระบบการเงินภายในไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
3. ลูกค้าไม่พอใจในงานบริการขายตั๋วภาพยนตร์
4.
ระบบยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ความต้องการของระบบใหม่
1. ระบบมีประสิทธิภาพมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
2. ระบบต้องรวดเร็วต่อความต้องการของลูกค้า
3.
สามารถตรวจสอบยอดขายตั๋วที่ออกได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1. การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.
มียอดการจองและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
3.
ระบบมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
4.
ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่องานบริการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
5.
สามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
6. ตรวจสอบยอดขายที่จองและจำหน่ายออกไปแล้ว
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ และส่วนอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
1. ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมายเป็นบุคคลฝ่ายสารสนเทศที่มีความรู้ในด้านระบบ
ซึ่งจะมีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสารสนเทศเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้ระบบกับทีมโปรแกรมเมอร์
จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ
รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ
2.
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ในปัจจุบันบริษัทใช้ระบบเครือข่าย
LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 8 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์ (Printer) 3 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 8 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์ (Printer) 3 เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพวง 4 ชุด (ตามความเหมาะสม)
ตารางที่ 8
การบริหารงาน
สรุปงบประมาณของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1.ส่วนของผู้บริหาร
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 200,000 บาท
2.พนักงาน
ฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน 10 คน 2,000 บาท
วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ 2,000 บาท
ฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน 10 คน 2,000 บาท
วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ 2,000 บาท
3.จัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นworkstation 57,000 บาท
อื่นๆ 10,000 บาท
อื่นๆ 10,000 บาท
รวม 271,000 บาท
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ จะใช้เวลาประมาณ 90 วัน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 มีนาคม
2558 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ของบริษัท
ระยะเวลาดำเนินงาน
- คือวันจันทร์-ศุกร์
ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์
- 8
ชั่วโมงต่อวันไม่รวมช่วงพักเที่ยง
- หากมีการทำงานในช่วงเวลานอกคือหลังเวลาเลิกงานหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์จะได้รับ OT เพิ่มและวันหยุดนักขัตฤกษ์ได้ค่าแรงเป็น 2 เท่า
- หากมีการทำงานในช่วงเวลานอกคือหลังเวลาเลิกงานหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์จะได้รับ OT เพิ่มและวันหยุดนักขัตฤกษ์ได้ค่าแรงเป็น 2 เท่า
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์เดิมของบริษัทส่วนใหญ่มีการทำเทคโนโลยีมาใช้บางส่วนแต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในด้านการบริการและระบบสารสนเทศทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่
ขึ้น
ทั้งนี้ทางทีมงานจึงได้พัฒนาระบบและได้ศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง
3 ด้านของระบบนี้ประกอบด้วยความเป็นไปได้ทางเทคนิค ความเป็นไปได้ทางการปฏิบัติงาน
และความเป็นไปได้ทางด้านระยะการดำเนินงานจะเป็นข้อมูลไว้ช่วยสนับสนุนโดยนำมาใช้งานดังต่อไปนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
ในส่วนนี้อาจเกี่ยวข้องกับทางด้าน
Software
และHardware ของระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่นโปรแกรมสำเร็จรูปด้านต่างๆและอุปกรณ์อื่นๆ
2.
ความเป็นไปได้ทางด้านปฏิบัติงาน
ทำการศึกษาทางด้านการปฏิบัติงานของผู้ใช้กับระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการทดสอบการทดลองระบบว่าระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร
3. ความเป็นไปได้ทางด้านระยะเวลา
จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบได้ผลที่ประสบความสำเร็จระบบที่ได้เป็นไปตามความต้องการของบริษัท3. ความเป็นไปได้ทางด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
ใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2558
ในการดำเนินงานพัฒนาระบบของบริษัท
ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์นี้ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมาและได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้วดังนั้นจึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถามสำหรับวิธีการออกแบบสอบถามทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบซึ่งบุคคลที่ทาง
ทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
บุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม คือ
พนักงานผู้ที่ใช้ระบบการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ซึ่งไม่ต้องมีการจดบันทึก ไม่รบกวนเวลาทำงานของพนักงานสามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล
ข้อมูลและเอกสารของระบบงานที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิมด้วยวิธีการออกแบบสอบถามสามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย
LAN ประกอบด้วย
1. เครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง
ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2007
2. เครื่องลูกข่าย
จำนวน 8 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
· แผนกธุรการ-การเงินใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี
AccStar และใช้ Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ
สั่งเบิกสินค้า
· แผนกห้องฉายใช้เครื่องฉายระบบฟิล์ม ในการฉายภาพยนตร์
· แผนกจำหน่ายตั๋วใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
· แผนกช่างซ่อมใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้
· แผนกอาหารใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูประบบคลังสินค้า
· แผนกพนักงานใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
· แผนกสื่อโฆษณาใช้ซอฟแวร์
Microsoft
Power Point 2007 ในการประชามสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร
· แผนกบริการลูกค้าใช้ระบบ
PC
telephony รวมถึง Internet telephony ซึ่งเป็นการรวมระบบ โทรศัพท์เข้ากับระบบงานต่างๆ
· แผนกเจ้าหน้าที่ใช้ซอฟแวร์
Microsoft
word 2007 ในการพิมพ์รายงานต่างๆ
· แผนกซ่อมบำรุงใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ ซ่อมบำรุง และจัดลำดับการเข้าบริการ
ซ่อมบำรุง
· แผนก system ใช้ซอฟแวร์
Microsoft word 2007 ในการพิมพ์รายละเอียดของระบบแผนกออกแบบใช้ซอฟแวร์ VISUAL STUDIO 2010 EXPRESS EDITION ในการออกแบบ
3. เครื่องพิมพ์จำนวน 3 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์จำนวน 3 เครื่อง
4. อุปกรณ์ต่อพ่วง
จำนวน 4 ชุด
ความต้องการในระบบใหม่
1. ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มีความรวดเร็วและแม่นยำ
2. สามารถดูยอดที่จำหน่ายตั๋วออกไปแล้วได้
3. มีความสะดวกต่อการใช้งาน
4. การใช้งานไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนเกินไป
5. มอบความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท
6. สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า
ความต้องการระบบงานใหม่
จากผู้ใช้จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติมจึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเช่น
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
2. พนักงานสามารถงานระบบได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ
3. มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและค้นหาข้อมูลได้ง่าย
4. ระบบมีประสิทธิภาพตอบสนองกับความต้องการของพนักงานและลูกค้า1. ขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่มีความรวดเร็วและแม่นยำ
2. สามารถดูยอดที่จำหน่ายตั๋วออกไปแล้วได้
3. มีความสะดวกต่อการใช้งาน
4. การใช้งานไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนจนเกินไป
5. มอบความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท
6. สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า
ความต้องการระบบงานใหม่
จากผู้ใช้จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติมจึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเช่น
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
2. พนักงานสามารถงานระบบได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ
3. มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและค้นหาข้อมูลได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบด้วย DFD
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแปนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ดังนี้
แผนภาพบริบท (Context Diagram)
รูปที่ 2 แสดง Context Diagram
อธิบาย Context Diagram
จาก Context Diagram ของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด ซึ่งสัญลักษณ์ Process จะใช้แทนการทำงานทุกขั้นตอนของระบบนี้โดย External Agents ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ซึ่งมีข้อมูลรับเข้าและส่งออกระหว่าง External Agents ดังกล่าวกับระบบทำให้ทราบโดยภาพรวมว่าระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
นี้ทำอะไรได้บ้าง และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง
สามารถอธิบายเอกสารข้อมูลที่อยู่บน Dataflow เข้าและออกระหว่าง External Agents และระบบ ได้ดังนี้
พนักงาน
พนักงานจะส่งข้อมูลภาพยนตร์ ข้อมูลโรงภาพยนตร์ และข้อมูลภาพยนตร์เข้าฉาย
เข้าสู่ระบบ ระบบจะส่งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการจอง ข้อมูลการชำระเงิน
ให้พนักงาน
ลูกค้า
ลูกค้าจะส่งข้อมูลการจอง และข้อมูลการชำระเงิน เข้าสู่ระบบ
ภายในระบบจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดการ
ข้อมูลการจองจึงจะสามารถแสดงข้อมูลลูกค้ากับข้อมูลการชำระเงินจึงจะสามารถแสดงตั๋วให้กับลูกค้าได้
แสดง DFD LEVEL 0
จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 7 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลภาพยนตร์
พนักงานจะนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลภาพยนตร์
แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลภาพยนตร์เข้าฐานข้อมูลภาพยนตร์
Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลโรงภาพยนตร์
พนักงานจะนำข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าฐานข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลสมาชิก
พนักงานและลูกค้าจะนำข้อมูลลูกค้าเข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก
แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลสมาชิกเข้าฐานข้อมูลสมาชิก
Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลรายการฉาย
พนักงานจะนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลรายการฉาย
แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลรายการฉายเข้าฐานข้อมูลรายการฉาย
Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับข้อมูลการจอง
ลูกค้าจะทำการจองตั๋วภาพยนตร์เข้าสู่ระบบจัดการข้อมูลการจอง
แล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลการจองเข้าฐานข้อมูลการจอง
Process 6.0 ตรวจสอบการชำระเงิน
เป็นระบบตรวจสอบการชำระเงิน
ลูกค้าจะนำข้อมูลการชำระเงินเข้าสู่ระบบตรวจสอบการชำระเงิน
พนักงานจะตรวจสอบการชำระเงินจากระบบตรวจสอบการชำระเงิน
แล้วระบบจะทำการส่งข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าให้กับพนักงาน
Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
เป็นระบบพิมพ์ตั๋ว พนักงานจะนำข้อมูลการชำระเงินของลูกค้าเข้าสู่ระบบ เพื่อพิมพ์ตั๋วออกมาให้สมาชิก
Data Flow Diagram Level 1 of Process 1.0
รูปที่ 4 แสดง DFD Level 1 of Process 1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 1.0 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
Process 1.1 จัดการข้อมูลภาพยนตร์
Process 1.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 1.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานจัดการข้อมูลภาพยนตร์ ตรวจสอบ
จัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลภาพยนตร์ได้
Data Flow Diagram Level 1 of Process 2.0
รูปที่ 5 แสดง DFD Level 1 of Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 2.0 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 2.1 จัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
Process 2.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 2.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลโรงภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์ ตรวจสอบ
จัดเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลโรงภาพยนตร์ได้
Data Flow Diagram Level 1 of Process 3.0
รูปที่ 6 แสดง DFD Level 1 of Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 3.0 จัดการข้อมูลสมาชิก
Process 3.1 จัดการข้อมูลสมาชิก
Process 3.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 3.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานและลูกค้านำข้อมูลลูกค้าเข้าสู่ระบบ
พนักงานและลูกค้าจัดการข้อมูลสมาชิกการตรวจสอบข้อมูลสมาชิก
จัดเก็บข้อมูลสมาชิก พนักงานและลูกค้าสามารถเรียกดูข้อมูลสมาชิกได้
Data Flow Diagram Level 1 of Process 4.0
รูปที่ 7 แสดง DFD Level 1 of Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 4.0 จัดการข้อมูลรายการฉาย
Process 4.1จัดการข้อมูลรายการฉาย
Process 4.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 4.3 จัดเก็บข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลภาพยนตร์เข้าสู่ระบบ พนักงานทำการดึงข้อมูลภาพยนตร์
ข้อมูลโรงภาพยนตร์มาจัดการข้อมูลรายการฉาย ตรวจสอบ
จัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์และพนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลรายการฉายได้
Data Flow Diagram Level 1 of Process 5.0
รูปที่ 8 แสดง DFD Level 1 of Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 5.0 จัดการข้อมูลการจอง
Process 5.1 จัดการข้อมูลการจอง
Process 5.2 ตรวจสอบข้อมูล
Process 5.3 จัดเก็บข้อมูล
ลูกค้าทำการจองตั๋วภาพยนตร์ ตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูลการจองและสมาชิกสามารถเรียกดูข้อมูลการจองได้
Data Flow Diagram Level 1 of Process 6.0
รูปที่ 9 แสดง DFD Level 1 of Process 6.0 ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงิน
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 6.0 ตรวจสอบข้อมูลการชำระเงิน
Process 6.1 ตรวจสอบการชำระเงิน
Process 6.2 ประมวลผล
Process 6.3 ส่งข้อมูล
ลูกค้านำข้อมูลการชำระเงินส่งระบบตรวจสอบการชำระเงิน พนักงานจะตรวจสอบการชำระเงินทำการประมวลผลส่งข้อมูลการชำระเงินให้พนักงาน
Data Flow Diagram Level 1 of Process 7.0
รูปที่ 10 แสดง DFD Level 1 of Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
คำอธิบาย DFD Level 1 of Process 7.0 พิมพ์ตั๋ว
Process 7.1 พิมพ์ตั๋ว
Process 7.2 ประมวลผล
Process 7.3 ส่งข้อมูล
พนักงานนำข้อมูลการชำระเงินเข้าสู่ระบบ พนักงานทำการพิมพ์ตั๋วให้สมาชิก
แบบจำลองข้อมูล (Data Modeling)
ขั้นตอนการกำหนดความต้องการของระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ด้วย E-R Diagram นอกจากการจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling) ด้วยแผ่นภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ในการกำหนดความต้องการของระบบแล้วยังต้องจำลองข้อมูล (Data Modeling) ทั้งหมดในระบบด้วยแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram : E-R Diagram) โดยข้อมูลนั้นมีความหมายรวมทั้งแต่ข้อมูลที่อยู่บนเอกสารหรือรายงานต่างๆ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งแบบจำลองทั้ง 2 ที่แสดงให้เห็นเป็นแบบจำลองของระบบการขาย ในระบบการขายสามารถสร้าง E-R Diagram ตามขั้นตอนต่อไปนี้
สร้าง Relationship ให้กับ Entity
จาก Entity ที่ได้และการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมนำมาเขียนเป็นความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่าง Entity ทั้งหมดดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกกับใบจอง เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: M กล่าวคือ สมาชิก 1 คนสามารถมีใบจองได้หลายใบ และใบจอง 1 ใบเป็นของสมาชิกได้แค่ 1 คน
รูปที่ 11 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกกับใบจอง
2. ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับรายการฉาย เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: M กล่าวคือ ภาพยนตร์1 เรื่องสามารถมีรายการฉายได้หลายรายการ และรายการฉาย 1 รายการเป็นของภาพยนตร์ได้แค่ 1 เรื่อง
รูปที่ 12 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับรายการฉาย
3. ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับโรงภาพยนตร์ เป็นความสัมพันธ์แบบ 1: M กล่าวคือ ภาพยนตร์1 เรื่องสามารถฉายได้หลายโรง และโรงภาพยนตร์ 1 โรงก็สามารถฉายได้แค่ 1 เรื่อง
รูปที่ 13 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพยนตร์กับโรงภาพยนตร์
4. ความสัมพันธ์ระหว่าง โรงภาพยนตร์กับรายการฉายเป็นความสัมพันธ์แบบ M : N กล่าวคือ โรงภาพยนตร์ 1 โรงสามารถมีรายการฉายได้หลายรอบ และรายการฉาย 1 รอบก็สามารถฉายได้หลายโรง
รูปที่ 14 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โรงภาพยนตร์กับรายการฉาย
5. ความสัมพันธ์ระหว่าง ใบจองกับรายละเอียดรายการฉายเป็นความสัมพันธ์แบบ M : N กล่าวคือ ใบจอง 1 ใบสามารถมีรายการฉายได้หลายรอบ และรายการฉาย 1 รอบสามารถมีใบจองได้หลายใบ
รูปที่ 15 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ใบจองกับรายละเอียดรายการฉาย
กำหนด Attribute และ Primary key
รูปที่ 16 แสดง E-R Diagram รวม
ตารางแสดงการออกแบบเอนทิตี้
ตาราง tab_user (พนักงาน)
ตาราง tab_member ( สมาชิก)
ตาราง tab_movies (ภาพยนตร์)
ตาราง tab_room (โรงภาพยนตร์)
ตาราง tab_sale (ใบจอง)
ตาราง tab_cycle (รายการฉาย)
ตาราง tab_cycle_detail (รายละเอียดรายการฉาย)
ตาราง tab_ticket (ตั๋ว)
ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบเชิงกายภาพ
ขั้นตอนการออกแบบเชิงกายภาพ
(Physical
Design)
เป็นขั้นตอนที่ระบุถึงลักษณะการทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค
โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เทคโนโลยี โปรแกรมภาษาที่จะนำมาเขียนโปรแกรม
ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ และระบบเครือข่ายที่เหมาะสมกับระบบ
การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้
(User
Interface Design)
เป็นการออกแบบจอภาพเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบได้ตามความต้องการอย่าง
มีประสิทธิภาพในปัจจุบันนิยมใช้การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก
(Graphic User Interface)
รูปที่ 17 แสดงหน้าจอหลัก
รูปที่ 18 แสดงหน้าจอการสมัครสมาชิก
(ส่วนของพนักงาน)
รูปที่ 19 แสดงหน้าจอจัดข้อมูลภาพยนตร์
รูปที่ 20 แสดงหน้าจอรายการฉายหนังทั้งหมดและรายละเอียด
รูปที่ 21 แสดงหน้าจอการเปลี่ยนสถานะของหนัง
รูปที่ 22 แสดงหน้าจอแก้ไขรายการหนัง
รูปที่ 23 แสดงหน้าจอตรวจสอบรายการจอง
รูปที่ 24 แสดงหน้าจอพิมพ์ตั๋ว
รูปที่ 25 แสดงหน้าจอเลือกช่วงเวลาการจองตั๋วหนัง
รูปที่ 26 แสดงหน้าจอรายการจองที่นั่งชม
รูปที่ 27 แสดงหน้าจอรายการจองที่นั่งชม
รูปที่ 28 แสดงหน้าจอจัดการข้อมูลโรงหนัง
รูปที่ 29 แสดงหน้าจอสมัครสมาชิก
(ส่วนของสมาชิก)
รูปที่ 30 แสดงหน้าจอการเลือกช่วงเวลาการจองตั๋วหนัง
(ส่วนของสมาชิก)
ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ทีมงานได้จัดทำคู่มือและเอกสารการใช้โปรแกรมของระบบการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้มากยิ่งขึ้น
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แนะนำโปรแกรมระบบการจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
เป็นระบบที่สามารถทำงานได้หลายหน้าที่และมีระบบย่อยทั้งหมด 7
ระบบได้แก่
1.1 ระบบจัดการข้อมูลภาพยนตร์
เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบรายละเอียดของภาพยนตร์จัดเก็บข้อมูลรายการภาพยนตร์และสามารถเรียกดูข้อมูลภาพยนตร์
1.2 ระบบจัดการข้อมูลโรงภาพยนตร์
เป็นระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลโรงภาพยนตร์ ตรวจสอบและเรียกดูข้อมูลโรงภาพยนตร์
1.3 ระบบจัดการข้อมูลสมาชิก
เป็นระบบที่สามารถจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลสมาชิก
1.4 ระบบจัดการข้อมูลรายการฉาย
เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบ เวลา จำนวนรอบในการฉายของภาพยนตร์
1.5 ระบบจัดการข้อมูลการจอง
เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบการจองตั๋วภาพยนตร์
สามารถจัดเก็บข้อมูลการจองตั๋วภาพยนตร์ของลูกค้า
1.6 ระบบตรวจสอบการชำระเงิน
เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบการชำระเงินของลูกค้าที่ได้ชำระเงินแล้วและสามารถบอกรายละเอียดแก่ลูกค้าสามารถคำนวณราคาตั๋ว และออกตั๋วให้กับลูกค้า
1.7 ระบบพิมพ์ตั๋ว
เป็นระบบที่ใช้ในการพิมพ์ตั๋ว โดยมีการแสดงรายละเอียดภาพยนตร์ วันที่ เวลา รอบฉาย
ให้แก่ลูกค้า
ขั้นตอนที่ 7
การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนการซ่อมบำรุงระบบ
เป็นขั้นตอนเพื่อการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
และต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นรวมทั้งเป็นขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงหรือดัดแปลงหรือแก้ไขทั้งโปรแกรม การซ่อมบำรุงระบบนั้นขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้าง
ผู้ใช้งานต้องหมั่นตรวจสอบดูแลระบบอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังปรับปรุงให้ระบบทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยี
ผู้จัดทำ นางสาวสุพัตรา ทองมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น