บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด


บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด

ที่มาของบริษัท
โรงภาพยนตร์ในรูปแบบซีนีเพล็กซ์ (Cineplex) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2538 โดยคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ในรูปแบบของ Standalone สร้างบนที่ดินที่มีสัญญาเช่าระยะยาว 20-30 ปี ในรูปแบบอาคาร 7-10 ชั้น ซึ่งรวมโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิงไว้ด้วยกัน และมีพื้นที่ให้เช่าสำหรับร้านค้าหลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสทั้งจากจำนวนภาพยนตร์ที่หลากหลายและร้านค้า ร้านอาหารที่เรียงรายให้เลือกมากมาย ทำให้ปริมาณผู้มาใช้บริการในศูนย์Standalone มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้มีร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่กันมาก ส่งผลให้บริษัทฯมีอัตราพื้นที่เช่าเกินกว่า 90 % มาโดยตลอด โรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone ณ สิ้นปี 2556 มี 5 สาขา ได้แก่ สาขาปิ่นเกล้า (สาขาแรกของประเทศไทย) ,สาขาสุขุมวิท ,สาขารัชโยธิน, สาขารังสิต และสาขา เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย  นอกเหนือจากโรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone แล้ว บริษัทฯยังขยายสาขาในอีก 3 รูปแบบ ดังนี้
               - รูปแบบห้างสรรพสินค้า
               - รูปแบบศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์
               - รูปแบบห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
              ในอดีต การขยายสาขาในรูปแบบห้างสรรพสินค้าเป็นที่นิยมเนื่องจากห้างสรรพสินค้ามีอัตราการเติบโตที่สูงมาก อีกทั้งยังสามารถประหยัดเงินลงทุนได้มากกว่าการขยายสาขาแบบ Standalone ต่อมาบริษัทฯได้เพิ่มรูปแบบการขยายสาขาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มอลล์ตั้งแต่ปี 2547 โดยการเข้าไปร่วมลงทุนใน บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างเพียง 3-5 ไร่ มีระยะเวลาก่อสร้าง 6-12 เดือน ดังนั้นจึงสามารถเลือกทำเลที่อยู่ใกล้ชุมชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการได้เป็นอย่างดี
                จากกระแสความนิยมในการรับชมภาพยนตร์และมีโรงภาพยนตร์เป็นผู้เช่าหลัก ธุรกิจของบมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จึงสามารถเติบโตได้กว่า 10 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบัน บริหารพื้นที่เช่าสูงกว่า 240,000 ตารางเมตร ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อทางบริษัทฯ คือสามารถเข้าไปตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน สามารถให้สะดวกต่อผู้ชมภาพยนตร์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไกล สำหรับผลดีต่อ บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ก็คือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการได้หลากหลายมากขึ้นด้วยโรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งที่มีในศูนย์การค้า
                อีกทางเลือกของการพัฒนารูปแบบสาขาของบริษัทฯคือการเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งโดยเป็นผู้เช่าหลัก ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รูปแบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยสำหรับคนต่างจังหวัด แต่ยังเป็นจุดนัดพบ ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัวอีกด้วยโดยบริษัทฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สองแห่ง ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
                ปัจจุบัน บริษัทฯครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80 % ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย เป็นผลมาจากการควบรวมกิจการกับบมจ. อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในปี 2547 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ณ ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 23% ณ สิ้นปี 2556 บริษัทฯ มีแบรนด์ในเครือทั้งสิ้น 7 แบรนด์ ดังนี้
                - เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
                - อีจีวี ซีนีม่า
                - พารากอน ซีนีเพล็กซ์
                - เอสพละนาด ซีนีเพล็กซ์
                - พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์
                - เมกา ซีนีเพล็กซ์
                - หาดใหญ่ซีนีเพล็กซ์

นโยบายของบริษัท
                ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ของประเทศไทยและเป็นศูนย์รวมความบันเทิง 

วัตถุประสงค์ของบริษัท
               1.ขยายสาขาไปให้คลอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภค
               2. การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               3. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               4. พัฒนาตลาดภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทยเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศ
               5. เสริมสร้างให้ไทยเป็นเขตปลอดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               6. เสริมสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในการบริโภคภาพยนตร์และวีดิทัศน์
               7. ส่งเสริมธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย
               8. ส่งเสริมความร่วมมือในการลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์กับต่างประเทศ

โครงสร้างองค์กร

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างองค์กร

หน้าที่และปัญหาแต่ละแผนก
ฝ่ายโรงภาพยนตร์
                1. แผนกธุรการ-การเงิน ทำหน้าที่
- ดูแลรับผิดชอบการคีย์ประวัติพนักงานใหม่ จัดทำสรุปเงินเดือน
- จัดทำสรุปบัญชีการเงิน รายได้ของสาขาและทำเอกสารส่งให้บัญชีส่วนกลาง
- ดูแลงานด้านธุรการ งานสำนักงานทั่วไป และดูแลกฎระเบียบบริษัทของสาขา
                ปัญหาแผนกธุรการ-การเงิน
                           - มีพนักงานขาดประสบการณ์ในด้านการบัญชี
                           - ขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
                2. แผนกห้องฉาย ทำหน้าที่
- ปฏิบัติงานดูแลการฉายภาพยนตร์ ตัดต่อฟิล์มภาพยนตร์
- รักษาอุปกรณ์การฉายเพื่อทำให้การฉายภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่น
- สร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
                ปัญหาแผนกห้องฉาย
                           - พนักงานดูแลห้องฉายมีไม่เพียงพอ
                           - เมื่อฉายภาพยนตร์แล้วพนักงานต้องไปทำที่โรงอื่นๆหากเกิดการขัดข้องก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
                3. แผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ ทำหน้าที่
                           - ปฏิบัติตามแผนงานเพื่อสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
- ให้บริการกับลูกค้าเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี
- ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกค้า
                ปัญหาแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                           - พนักงานคิดราคาตั๋วภาพยนตร์ผิดพลาด
                           - ระบบการเงินภายในไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

ฝ่ายธุรกิจโบว์ลิ่ง
                1. แผนกพนักงาน ทำหน้าที่
                            - ให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อสร้างความประทับใจ
 - ดูแลความเรียบร้อยและให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้อง
 - แนะนำบริการและแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับลูกค้า
                ปัญหาแผนกพนักงาน
                            - พนักงานขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ
                2. แผนกอาหาร ทำหน้าที่
                            - ปรุงอาหารไทย-จีน-ฝรั่ง-ญี่ปุ่น ตามเมนู หรือตามที่ลูกค้าสั่ง
 - ตรวจเช็ค Stock ของแห้ง-ของสด-อุปกรณ์ เพื่อพร้อมใช้งาน
 - ดูแลเรื่องอาหารสำหรับงานเลี้ยงต่างๆ ที่มีขึ้น
                ปัญหาแผนกอาหาร
                            - ขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษทำให้สื่อสารได้ยาก
                            - อุปกรณ์บางชิ้นชำรุดขาดการซ่อมแซม
                3. แผนกช่างซ่อม ทำหน้าที่
                            - รับผิดชอบดูแลเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสาขาให้มีประสิทธิภาพ
 - ควบคุมการซ่อมแซม ปรับเปลี่ยนและการสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
 - ประสานงานในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง/ เร่งรัดงานในการดูแล บำรุง รักษาอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสาขาให้มีประสิทธิภาพ
                ปัญหาแผนกช่างซ่อม
                             - อุปกรณ์บางส่วนเป็นของเก่าจึงเกิดการชำรุดได้บ่อยครั้ง
                             - การประสานงานข้ามหน่อยมีขั้นตอนมากจนทำให้ล่าช้าได้

ฝ่ายประชาสัมพันธ์
                1.แผนกสื่อโฆษณา ทำหน้าที่
                              - เผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมต่างๆให้ลูกค้าได้ทราบทุกช่องทาง
                              - ผลิตสื่อที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้และเป็นธรรม
                              - สามารถตอบปัญหาที่ลูกค้าข้องใจได้อย่างกระจ่างแจ้ง
                ปัญหาแผนกสื่อโฆษณา
                              - อุปกรณ์สื่อประชาสัมพันธ์มีจำนวนมากและใช้ไม่หมด ทำให้ศูนย์เสียต้นทุน
                              - พื้นที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การบริการและการประชาสัมพันธ์ไปได้ไม่ทั่วถึง
                2. แผนกบริการลูกค้า ทำหน้าที่
                              - อำนวยความสะดวกด้านต่างๆให้แก่ลูกค้า
                ปัญหาแผนกบริการลูกค้า
                              - อำนวยความสะดวกได้ไม่เต็มที่เพราะเจ้าหน้าที่มีน้อยลูกค้ามีมาก


ฝ่ายบริหาร
                1. แผนกเจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่
                          - ควบคุมดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยให้กับสถานที่
  - ควบคุมเจ้าหน้าที่และพนักงานร้านค้าให้อยู่ในกฏระเบียบของศูนย์การค้า
  - ดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  - อำนวยความสะดวก และควบคุมดูแลการจัดงานโปรโมชั่นต่างๆ
                ปัญหาแผนกเจ้าหน้าที่
                              - การควบคุมเจ้าหน้าที่เป็นไปได้ยากเพราะตรวจสอบได้ยากว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด
                2. แผนกซ่อมบำรุง ทำหน้าที่
                             - ดูแลงานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบปรับอากาศ, ระบบโทรศัพท์, ระบบประปาภายในศูนย์การค้า
  - ให้บริการและประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  - วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลต่างที่ใช้งานในองค์กร
                ปัญหาแผนกซ่อมบำรุง
                             - มีจำนวนช่างซ่อมบำรุงเยอะเกินไป
                             - การประสานงานกับฝ่ายต่างๆทำได้ช้าและยุ่งยาก

ฝ่ายสารสนเทศ
                1. แผนก System ทำหน้าที่
                             - วิเคราะห์และประเมินผลเพื่อหาความเป็นไปได้ของระบบเพื่อให้สอดคล้องกับ Business
 - จัดทำเอกสาร ARS, Spec, ER-Diagram, Workflow, Data Dictionary
 - จัดทำ Test script ทดสอบระบบ ติดตามแก้ไขปัญหาที่พบได้
                ปัญหาแผนก System
                            - ขาดพนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์
                2. แผนกออกแบบ ทำหน้าที่
                            - ออกแบบ ตกแต่งภายในโรงภาพยนตร์/ โบว์ลิ่ง/ สำนักงานใหญ่
 - สรุปเปรียบเทียบราคาผู้รับเหมา
                ปัญหาแผนกออกแบบ
                            - มีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและตกแต่งภายใน


ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกช่างซ่อม
                - การเงินไม่สามารถจ่ายเงินได้หากช่างซ่อมไม่บอกรายละเอียดและจำนวนเงินให้ทราบ
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกอาหาร
                - แผนกอาหารไม่แจ้งจำนวนอาหารในสต๊อกทำให้การเงินไม่สามารถจ่ายเงินได้
ปัญหาระหว่างแผนกธุรการ-การเงินกับแผนกพนักงาน
                - พนักงานเข้าออกไม่เป็นเวลาจึงไม่สามรถตรวจสอบเวลาทำงานได้
                - พนักงานขาดงานแบบไม่มีสาเหตุ
                - ตรวจสอบเวลาทำงานจริงของพนักงานได้ยาก
ปัญหาระหว่างแผนกห้องฉายกับแผนกซ่อมบำรุง
                - ห้องฉายไม่สามารถทำงานได้เพราะอุปกรณ์ชำรุดแผนกช่างซ่อมไม่มาซ่อม
                - ยอดขายตั๋วอาจลดลงได้
ปัญหาระหว่างแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์กับแผนกธุรการ-การเงิน
                - จำนวนตั๋วที่ขายออกกับจำนวนเงินที่รับเข้าไม่ตรงกัน
                - พนักงานทั้งสองแผนกอาจมีการทะเลาะกัน
ปัญหาระหว่างแผนกช่างซ่อมกับแผนกช่างซ่อมบำรุง
                - หน้าที่รับผิดชอบเหมือนกัน
                - พนักงานมีเยอะจึงเกี่ยงกันทำงาน
ปัญหาระหว่างแผนกอาหารกับแผนกบริการลูกค้า
                - อาหารไม่สะอาดทำให้แผนกบริการลูกค้าต้องมารับหน้าแทน
                - พนักงานทั้งสองแผนกอาจมีปากเสียงกันได้
                - อาจทำให้ลูกค้าลดน้อยลง
ปัญหาระหว่างแผนกสื่อโฆษณากับแผนกออกแบบ
                - ไม่สามารถโฆษณาสินค้าได้เพราะแผนกออกแบบไม่ส่งมอบงานให้
                - ลูกค้าไม่สามารถรับรู้ถึงข่าวสารของกิจการ
ปัญหาระหว่างแผนกบริการลูกค้ากับแผนกจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                - แผนกจอง-จำหน่ายตั๋วมีการจ่ายตั๋วผิดพลาดทำให้แผนกบริการลูกค้าต้องโดนติและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทน
ปัญหาระหว่างแผนกซ่อมบำรุงกับแผนกธุรการ-การเงิน
                - แผนกซ่อมบำรุงไม่สามารถทำงานได้เพราะไม่ได้รับเงินจากฝ่ายธุรการ-การเงิน
ปัญหาระหว่างแผนก System กับ จอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์
                - แผนก System ทำระบบผิดพลาดจึงทำให้การจ่ายตั๋วคลาดเคลื่อนและทำให้เกิดผลกระทบกับแผนกต่างๆ
ปัญหาระหว่างแผนกออกแบบกับแผนกสื่อโฆษณา
                - สื่อโฆษณาไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะส่งมอบงานให้แน่ชัดจึงทำให้ไม่เข้าใจในการส่งมอบงาน

สรุปปัญหาทั้งหมด
1. พนักงาน มีปัญหากัน เกิดการเกี่ยงกันทำงาน
2. การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
3. อุปกรณ์เกิดการชำรุดจึงไม่สามารถใช้งานได้
4.ไม่สามารถรู้เวลาเข้า ออกของพนักงานที่แท้จริง
5. พบข้อบกพร่องของระบบ เช่น ระบบจ่ายตั๋วคาดเคลื่อน
6. ปริมาณและคุณภาพของอาหารไม่ได้ตามมาตรฐาน
7. บุคลากรในการทำงานมีจำนวนมาเกินไป
8. บุคลากรขาดความรู้ ทักษะด้านต่างๆ
9. ตรวจสอบการทำงานของพนักได้ยาก
10. การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทำได้ช้าเพราะเกิดการเกี่ยงงานกัน
11. หากประชาสัมพันธ์ไม่ทราบข้อมูลของบริษัทก็จะทำให้ประชาสัมพันธ์ได้ไม่ดีนัก
12. การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายยังไม่มีประสิทธิภาพ
13. สื่อสารกับลูกค้าไม่เข้าใจ
14.อัพเดตข้อมูลการตลาดไม่ทันฝ่ายคู่แข่ง
15. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
16. การอนุมัติไปยังแผนกต่างๆทำได้ช้าเพราะขาดหลักฐานทางการเงิน
17. จำนวนตั๋วที่ขายออกกับจำนวนเงินที่รับเข้าไม่ตรงกัน
18. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
19. การค้นหาเอกสารทำได้ยากและเสียเวลา
20. คุณภาพของอาหารในคลังตรวจสอบได้ยาก
21. อาหารมีจำนวนเยอะเกินความต้องการขอลูกค้า
22. อาหารเยอะขายไม่ทันทำให้เน่าเสียเกิดการขาดทุนได้

ปัญหาและความเกี่ยวข้องกับระบบงาน
 

ระบบที่ต้องการพัฒนา
   1. ระบบธุรการ-การเงิน  เพื่อจัดทำระบบการเงินให้มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการทำงาน
   2. ระบบจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์  เพื่อให้การจอง-จำหน่ายตั๋วภาพยนตร์แก่ลูกค้าไม่มีข้อผิดพลาดและเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
   3. ระบบคลังอาหาร  เพื่อให้สามารถรู้จำนวนอายุของอาหารและจำนวนอาหารในคลังอย่างชัดเจนและถูกต้อง

ประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร

แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activites)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท




แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)

ตารางที่  1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ในการตัดสินใจ
             1. เพิ่มจำนวนลูกค้า
             2. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
             3. เพิ่มภาพลักษณ์ให้กับบริษัท
             4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
             5. เพิ่มผลกำไร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น